รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)
รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (อังกฤษ: The Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People's Republic of China on Bangkok - Nong Khai HSR Development for Regional Connectivity) หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพมหานคร - หนองคาย - เวียงจันทน์) (อังกฤษ: North Eastern High Speed Rail, Thailand-Chinese High Speed Rail) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษที่เป็นหนึ่งในเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ สาย Central Route ซึ่งเป็นโครงข่ายที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่มซีเอ็มแอลวีเข้าเป็นผืนแผ่นเดียวกัน

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)

ขบวนรถ CR400 ซีรีส์
รูปแบบ รถไฟความเร็วสูง
ระบบจ่ายไฟ ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง
(ไปเวียงจันทน์ ลาว)
หนองคาย (ตรวจคนเข้าเมือง)
อุดรธานี
ขอนแก่น
นครราชสีมา
ปากช่อง
สายแยก ไป
 HSR เชื่อม 3 สนามบิน 
สระบุรี
สายเหนือ ไปลพบุรี
อยุธยา
 สายสีแดงเข้ม 
ท่าอากาศยานดอนเมือง
 สายสีแดงเข้ม 
บางซื่อ (สถานีกลาง)
 สายสีแดงเข้ม  ไป หัวลำโพง
 HSR เชื่อม 3 สนามบิน  ไปอู่ตะเภา
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
จำนวนสถานี 11 สถานี แบ่งเป็น
2 (สถานีร่วม)
4 (ก่อสร้างใหม่)
5 (โครงการ)
ระบบ โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
สถานะ กำลังก่อสร้าง
ความเร็ว 350 km/h (ทดสอบ)
250 km/h ให้บริการในประเทศไทย
เปิดเมื่อ พ.ศ. 2568 (ช่วงที่ 1 กรุงเทพ - นครราชสีมา)
พ.ศ. 2570 (ช่วงที่ 2 นครราชสีมา - หนองคาย)
ที่ตั้ง ช่วงที่ 1: กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, นครราชสีมา
ช่วงที่ 2: ขอนแก่น, อุดรธานี, หนองคาย, เวียงจันทน์ (ลาว)
รางกว้าง 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระยะทาง 873 กิโลเมตร
ปลายทาง สถานีกลางบางซื่อ
สถานีรถไฟหนองคาย
ผู้ดำเนินงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย
China Railway Corporation